บันทึกอนุทิน
วิชา
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน
อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันที่
22 พฤศจิกายน
2556
เวลาเรียน
วันศุกร์ 11:30-14:00 น.
.
การเรียนการสอนในวันนี้
4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
- อวัยวะส่วนหนึ่งหายไป
- มีปัญหาทางระบบประสาท
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
การเดิน นั่ง คลาน
จำแนกได้ 2 ประเภท
1. บกพร่องทางร่างกาย
2. บกพร่องทางสุขภาพ
1. บกพร่องทางร่างกาย
1.1 เด็ก ซี.พี.
- การที่เป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลาย
ก่อนคลอด ระหว่างคลอด หลังคลอด
- การเคลื่อนไหว
การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็ก ซี.พี.
มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองที่แตกต่างกัน
อาการเด็ก ซี.พี.
- อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหว
- อัมพาตเกร็งแขน
เกร็งขา หรือ ครึ่งซีก
- อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
- อัมพาตตึงแข็ง
- อัมพาตผสม
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง
(Muscular Distrophy )
- เกิดจากเส้นประสาท
สมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
- เดินไม่ได้
นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
- จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง
คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
1.3 โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด
เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน
อัมพาครึ่งท่อน จากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina
Bifida)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการ
ด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น
วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis)
- มีอาการกล้ามนื้อลีบเล็ก
แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
- เกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าจากทางปาก
กินอม ดูดนิ้ว มือไม่ล้าง
- โปลิโอ
เด็กเป็นขามากกว่าแขน
- ยืนไม่ได้
หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์สริม
- โรคนี้เป็นครั้งเดียวในชีวิต
1.5 แขนขาด่วนก่อนกำเนิด (Limb Deficiency)
1.6 โรคกระดูกอ่อน ( Osteogenesis
lmoerfeta)
2. บกพร่องทางสุขภาพ
2.1 โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
- ลมบ้าหมู (Grand Mal )- เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
- การชักช่วงสั้นๆ (Petit mal)- เป็นอาการชักชั่วระยะสั้นๆ 5-10 วินาที- เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะหยุดชะงกในท่าก่อนชัก- เด็กจะนั่งเฉย หรือ็กอาจจะตัวส่นเล็กน้อย
- การชักแบบรุนแรง (Grand Mai)- เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึกล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง 2-5 นาที จากนั้นจะหายและจะนอนหลับไปชั่วครู่
- อาการชักแบบ (Partial Complex)- เกิดเป็นระยะๆ- กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา- บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการพักผ่อน
- อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)- เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจจะทำอะไร บางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า ดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
2.2 โรคเกี่ยวกับสุขภาพ
1. โรคระบบทางเดินหายใจ
2. โรคเบาหวาน
3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
4. โรคศีรษะโต
5. โรคหัวใจ
6. โรคมะเร็ง
7. เลือดไหลไม่หยุด
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
1. มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
2. ท่าเดินคล้ายกรรไกร
3. เดินขากะเผลก หรือ เดินอืดอาดเชื่องช้า
4. ไอเสียงแห้ง
5. เจ็บหน้าอก ปวดหลัง
6. หน้าแดงง่าย ปากเขียว
7. หกล้มบ่อย
8. หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
เด็กที่พูดไม่ชัด
ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น
การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดั่งตั้งใจ มีอากัปกิริยา ที่ผิดปกติขณะพูด
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
- ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตราฐานของภาษาเดิม
- เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
- เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง
เช่น กวาดเป็นฟาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น
- การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง
4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง
โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia
4.1 MOTOR APHASIA
-เด็กที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง
แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก
-พูดช้าๆ
พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
4.2 Wernicke's aphasia
- เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม
คำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
-ออกเสียงไม่ติดขัด
แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่น ซึ่งไม่มีความหมาย
4.3 Conduction aphasia
-เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขด เข้าใจคำถาม
แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
4.4 Nominal aphasia
-เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้
-แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะ ลืมชื่อ บางทีก็ไม่ข้าใจความหมายของคำ
มักเกิดร่วมไปกับ Genstmann's syndrome
4.5Global aphasia
-เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
-พูดไม่ได้เลย
4.6 Sensory agraphia
-เด็กที่เขียนเองไม่ได้
เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Genstmann's syndrome
4.7 Monter agraphia
-เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้
-เขียนตามคำบอกไม่ได้
4.8 Cortical alexia
-เด็กที่อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
4.9 Moter alexia
-เด็กที่เห็นตัวเขียนและตัวพิมพ์
เข้าใจความหมายแต่ออกเสียงไม่ได้
4.10 Genstmann's syndrome
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว
ไม่รู้ซ้ายขวา คำนวนไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก
4.11 Visual agnosia
-เด็กที่มองเห็นวัตถุ
แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
4.12 Auditory agnosia
-เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
แต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
- ในวัยทารก มักเงียบผิดธรรมชาติ
ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
- ไม่อ้อแอ้ ภายใน 10 ดือน
- ไม่พูดภายใน อายุ 2 ขวบ
- หลัง 3 ขวบ
ก็ยังพูด ฟังไม่รู้เรื่อง ฟังยาก
- ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
- หลัง 5 ขวบ
เด็กยังใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ ในระดับประถมศึกษา
- มีปัญหาในการสื่อความหมาย
พูดตะกุกตะกัก
- ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น